You are currently viewing กินอย่างไรให้บำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

กินอย่างไรให้บำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

กินอย่างไรให้บำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

อาการอ่อนเพลีย อาการเหนื่อยล้า ถือเป็นอาการทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายที่พบได้เสมอๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ขาดอาหาร นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักเกินไป ติดเชื้อหรือเจ็บป่วย แต่อาการอ่อนเปลี้ย เพลีย เหนื่อยล้าเรื้อรังจนกระทั่งไม่สามารถทำงานได้ตาม ปกติ แม้จะพักผ่อนมากขึ้นก็ไม่หาย เป็นอาการที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะค่อนข้างยากที่จะวินิจฉัย ฝรั่งเรียกอาการแบบนี้ว่า “โครนิกฟาทีคซินโดรม” (Chronic Fatigue Syndrome หรือย่อว่า CFS) ถ้าแปลตรงตัวก็คืออาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ซึ่งพบในผู้ใหญ่มากว่า 200 คนต่อหนึ่งแสนคน และผู้หญิงวัย 25 – 45 ปีเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า

สารบัญ

อาการเหนื่อยล้า

อาการที่พบจะคล้ายคลึงกับอาการโรค Fibromyalgia ซึ่งเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อและพังผืด มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อยเหมือนไข้หวัดมีไข้อ่อนๆ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวม กล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากออกกำลังกาย) ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้ออารมณ์ไม่คงเส้นคงวา ซึมเศร้า นอนไม่หลับ คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหลายๆ อย่างเรื้อรังถึงหกเดือนขึ้นไป สาเหตุที่แท้จริงของ CFS นี้ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด และไม่มีวิธีการตรวจสอบได้ว่าเป็นโรคใดเฉพาะเจาะจง

นักวิจัยบางคนเชื่อว่าสาเหตุอาจเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส และพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันก่อนที่จะมีอาการ CFS เกิดขึ้น นักวิจัยบางคนก็เชื่อว่าระบบภูมิต้านทานถูกรบกวน บางท่านก็ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยมีอาการเหมือนคนไข้โรคจิต และผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาต้านการซึมเศร้า

อาหารสามารถบำบัดโรค CFS ได้หรือไม่ ยังไม่มีข้อแนะนำที่ชัดเจนในการป้องกันหรือบำบัดเช่นกัน ก่อนหน้านี้เคยเชื่อว่าการงดอาหารประเภทที่มีคุณสมบัติในกลุ่มของเชื้อรา เช่น เห็ดและขนมปังที่ทำจากยีสต์ และใช้ยาต้านเชื้อรา จะช่วยแก้ไขโรค CFS ได้ แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวตกไปเนื่องจากไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าโรค CFS จะเกี่ยวข้องกับยีสต์

มีข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า ระดับของสารสื่อข่าวในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนินอาจจะสูงเกินในคนที่มีอาการ CFS และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การลดคาร์โบไฮเดรตและเพิ่มโปรตีนอาจจะช่วยแก้ไขสมดุลของสารเคมีในสมอง

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า อาการ CFS อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบประสาทที่ทำให้เกิดความดันต่ำ (Neurally Mediated Hypotension) การให้โภชนบำบัดในกรณีนี้คือ การเพิ่มเกลือหรือโซเดียมในอาหาร   และดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเพิ่มเพื่อช่วยปรับความดันเลือดร่วมกับการให้ยา ปัจจุบันนักวิจัยกำลังหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่มีอาการ CFS

แพ้อาหารทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและอาการเหนื่อยล้าได้ไหม

แพ้อาหาร

อาการแพ้อาหารซึ่งมักจะแสดงออกทางผิวหนัง (เช่น เป็นผื่น) ระบบย่อยอาหาร หรือหายใจขัด แต่อาการที่ไม่ชัดเจนจากการแพ้อาหารอาจเกิดขึ้นได้ เช่น เพลีย ปวดศรีษะ

ผู้ที่มีอาการ 9 ใน 10 คนคิดว่าอาการอ่อนเพลียอาจเนื่องมาจากอาหารแต่ในความเป็นจริงเมื่อทำการทดสอบแล้วกลับไม่ใช่สิ่งที่สงสัย อาการแพ้อาหารที่แท้จริงนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน และอาการอาจจะแสดงออกเร็วหรือช้าได้ภายใน 24 ชั่วโมง อาการที่พบแสดงออกทางผื่นผิวหนังปัญหาระบบทางเดินหายใจและระบบย่อย อาการอาจจะน้อยหรือรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความทนของร่างกายและปริมาณของสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อาหารที่พบว่าก่อให้เกิดอาการแพ้บ่อยๆ ได้แก่  นมวัว ถั่วเหลือง ไข่ ถั่วลิสง ข้าวสาลี ข้าวโพด เมล็ดถั่วลันเตา ปลา ปู กุ้ง หอย มะเขือเทศ ถั่วเปลือกแข็ง ส้ม  สตรอร์เบอรี่ และซ็อกโกแลต การเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้จะเป็นวิธีที่แนะนำกันในทางโภชนบำบัด

อาหารที่เกี่ยวข้องกับความเพลียและความเหนื่อยล้า

อาหารที่เกี่ยวข้องกับความเพลียและความเหนื่อยล้า

เวลาที่ร่างกายขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถทำให้เกิดอาการเพลียได้ ถ้าร่างกายได้รับพลังงานหรือโปรตีนไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อยหน่าย เหมือนคนไร้ความรู้สึก คนที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนกระทั่งระบบภูมิต้านทานถูกระทบไปด้วย ก็จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

สารอาหารที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการเกิดอาการเพลีย เหนื่อยล้า ได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม

วิตามินบี

วิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตพลังงานจากอาหาร คือ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 กรดแพนโทธีนิก และไนอะซิน ถ้าร่างกายขาดวิตามินตัวใดหนึ่งในกลุ่มนี้ อาจทำให้คนนั้นมีความรู้สึกเพลียไม่มีแรง นนไม่หลับ แต่ถ้าร่างกายได่รับวิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 10 กรดโฟสิกและไบโอตินไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดฌรคโลหิตจาง ซึ่งก็จะมีอาการเพลีย เซี่ยงซึม เฉื่อยชา ขาดสมาธิ ออกแรงนิดหน่อยก็แทบจะล้มพับไปเลย  กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี ได้แก่ นักกีฬา ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยระดับแคลอรีต่ำมากๆ หญิงตั้งครรภ์ และชาวมังสวิรัติ

วิตามินซี

เคยมีรายงานการวิจัยว่า ผู้ที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัมจะมีอาการอ่อนเพลีย ในขณะผู้ที่ได้รับวิตามินซีวันละ 400 มิลลิกรัมแทบจะไม่รู้สึกกับอาการอ่อนเพลีย อาหารที่มีวิตามินสูงอาจช่วยแก้ไขอาการอ่อนเพลียโดยการช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต่อต้านการติดเชื้อ นอกจากนี้วิตามินซียังมีหน้าที่ในการช่วยเปลี่ยนกรดแอมิโนชนิดทริปโตแฟนเป็นเซโรโทนิน ซึ่งช่วยควบคุมการหลับ อาการซึมเศร้า และความรู้สึกเจ็บปวด

ธาตุเหล็ก

เป็นส่วนประกอบของสารเฮโมโกบินในเม็ดเลือดแดง ช่วยขนส่งออกซิเจนจากปอดเข้าสู่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ถ้ากินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือการดูดซึมธาตุเหล็กไม่ดี ก็จะทำให้ธาตุเหล็กจากเนื้อเยื่อถูกดึงมาใช้เซลล์จะค่อยๆ ขาดออกซิเจน ผลที่เกิดขึ้นคือกล้ามเนื้ออ่อนแอ เพลีย ไม่มีสมาธิ

ปัญหาขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า แม้แต่ฝรั่งเองซึ่งบริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าคนเอเชียก็ยังมีปัญหาโลหิตจางได้ เคยมีข้อมูลรายงานว่า ผู้หญิงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์มีปัญหาโลหิตจาง ผู้หญิงที่ออกกำลังกาย 50 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน 39 เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่มีปัญหาขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็กอาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่เจ้าตัวไม่ได้สังเกต การตรวจเลือดจะบอกได้ว่าหญิงผู้นั้นมีความเสี่ยงต่อโลหิตจางหรือไม่ ก่อนที่จะเกิดโลหิตจางธาตุเหล็กที่เก็บสะสมในเนื้อเยื่อจะค่อยๆ ถูกใช้ไป ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย และอารมณ์จะฉุนเฉียวง่าย สมาธิในการทำงานจะน้อยลง ระบบภูมิคุ้มกันสั่นคลอน ทำให้เป็นหวัดและติดเชื้อง่าย

หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือนควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้วันละ 18 มิลลิกรัม และถ้าคนที่มีเมนส์มากหรือผู้ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบใส่ห่วง อาจจะต้องเสริมธาตุเหล็กร่วมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เนื้อแดง สัตว์ปีก ปลา ถั่ว เต้าหู้ ผักใบเขียวจัด น้ำลูกพรุน

จากข้อมูลของ ดร. เฟอร์กัส ไคลเดสดัล พบว่า อาหารที่สมดุลจะให้ธาตุเหล็ก 6 มิลลิกรัมต่อพลังงาน 1,000 แคลอรี ซึ่งหมายถึงว่าผู้หญิงจะต้องกินอาหารได้อย่างน้อยวันละ 3,000 แคลอรีเพื่อให้ได้ธาตุเหล็กเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงกินน้อยกว่านั้นมาก และถ้าจะต้องกินเท่านั้นจริงๆ ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาโรคอ้วนกันไปหมด ฉะนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีโภชนาการดีจะได้ธาตุเหล็กประมาณวันละ 8 -10 มิลลิกรัมจากอาหาร

ผู้หญิงบริโภคธาตุเหล็กส่วนใหญ่จากผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืช ซึ่งจากแหล่งอาหารเหล่านั้นธาตุเหล็กจะดูดซึมเพียง 2-7 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์จะดูดซึมได้มากถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากผู้หญิงคนไหนดื่มชา กาแฟในมื้ออาหาร ธาตุเหล็กก็จะดูดซึมได้น้อยลงอีก เพราะชา กาแฟจะยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก

คนทุกคนโดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือนควรจะใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารให้ได้ธาตุเหล็กเพียงพอ ส่วนในคนที่มีปัญหาโลหิตจาง การเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงขึ้น และเสริมธาตุเหล็กวันละ 18 มิลลิกรัมจะช่วยให้สภาวะธาตุเหล็กในร่างกาย การทำงานของสมอง และมีเรี่ยวแรงดีขึ้นภายในสามสัปดาห์ แต่ถ้าขาดธาตุเหล็กรุนแรงอาจจะต้องเสริมในปริมาณมากกว่านั้น ซึ่งควรให้แพทย์เป็นผู้กำหนด เพราะถ้าร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปจะเกิดการสะสมธาตุเหล็กในร่างกาย อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งฉะนั้นในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ชายไม่จำเป็นต้องเสริมาตุเหล็กนอกจากเมื่อแพทย์พบว่าปัญหาโลหิตจาง

นอกจากปัยหาการขาดธาตุเหล็กแล้ว โรคโลหิตจางยังอาจมีสาเหตุมาจากการขาดโคบอลต์หรือซิลีเนียมจากอาหารได้เช่นกัน

แมกนีเซียม

แร่ธาตุตัวนี้มีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันเป็นพลังงาน การขาดแมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ เพลียไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร และซึมเศร้าได้

การวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาท์แธมตันในประเทศอังกฤษรายงานไว้ว่าผู้ที่เป็นโรค CFS มีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ และการเสริมจะช่วยให้อาการและอารมณ์ดีขึ้น และยังอาจช่วยลดอาการหงุดหงิด วิตกกังวล และนอนไม่หลับด้วย วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรค CFS  คือ วิตามินอีและกรดโฟลิก การขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางและอาการอ่อนเพลียได้ การขาดแร่ธาตุบางชนิด เช่น โซเดียม ซึ่งยากที่จะพบหรือขาดโพแทสเซียมคลอไรด์และแมงกานีสก็ทำให้มีอาการเพลียและอ่อนแรงได้เช่นกัน

แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องคือ สังกะสี ซึ่งมีหน้าที่ส่วนหนึ่งในการผลิตพลังงาน ควบคุมการทำงานของอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดในขณะที่การได้รับแคดเมียม ตะกั่ว และอลูมิเนียมก้ทำให้เกิดอาการเพลีย เซื่องซึม ไม่มีแรงได้เช่นกัน

โภชนาการ

ข้อแนะนำทางโภชนาการ

วิธีที่ดีที่สุดคือการบริโภคอาหารให้หลากหลาย และให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น นักโภชนาการแนะนำให้กินอาหารไขมันต่ำ กากใยสูง มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ กินผักผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อให้ได้สารแอนติออกซิแดนท์เพิ่มขึ้น ไม่งดอาหารเช้า กินทุก 3-4 ชั่วโมงเป็นมื้อเล็กๆและเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่มีแมกนีเซียม เช่น วิตามิน รวม

นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเพลียได้ จำกัดเตรื่องดื่ม กาแฟอีน งดเครื่องดื่แอลกอฮอล์และอาหารที่มีน้ำตาลมาก พักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักหลีกเลื่ยงความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษากล้ามเนื้อ ระบบเผาผลาญ และเพื่อความแข็งแรงให้กับร่างกายในการต่อต้านโรคเหนื่อยล้าเรื้อรัง

สรุป

ทุกวันนี้ไม่ว่าอาหารที่เรารับประทาน น้ำที่เราดื่ม หรืออากาศที่เราหายใจล้วนมีเชื้อไวรัสและแบคทีเรียปะปนเข้าสู่ร่างกายทุกวัน แต่เชื้อโรคที่เราได้รับไม่มีผลต่อร่างกาย เพราะร่างกายคนเรามีกระบวนการหรือกลไกลต่อต้านเชื้อโรคที่บุกรุกเข้าไปซึ่งก็คือระบบภูมิต้านทานนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

ภาพประกอบ freepik.com (@tongpatong, @coffeekai, @jcomp, @nakaridore, @vectorjuice)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น