ค้นพบเอนไซม์ที่ชะลอกระบวนการแก่ชรา โดยนักวิทยาศาสตร์สหรัฐ ฯ
นักวิทยาศาสตร์จาก Harvard Medical School ของสหรัฐฯ ค้นพบสารตัวเร่งปฏิกิริยาหรือเอนไซม์ที่ชะลอความแก่ชรา (Anti Aging Enzyme) เป็นครั้งแรกในเซลสิ่งมีชีวิต ความก้าวหน้าดังกล่าวจะช่วยเร่งหรือกระตุ้นให้มีการพัฒนายาต่าง ๆ เพื่อยืดอายุมนุษย์ ตลอดจนป้องกันโรคต่างๆที่เกิดจากความชรา ทั้งนี้สารที่ค้นพบใหม่เพิ่มอายุ (Life Spans) ของยีนส์และเซลมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ และยังยืดอายุของแมลงวันและหนอนอันเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งเมื่อพิจารณาในระดับ ชีวโมเลกุลจะมีการเปลี่ยนแปลงของอายุรวดเร็วเช่นเดียวกันกับมนุษย์
ถึงแม้จะเป็นการด่วนสรุปว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นก้าวกระโดดจากห้องปฏิบัติการ ไปสู่คลินิครักษาโรคชรา แต่สารประกอบที่นักวิจัยทดสอบแล้วว่าช่วยการทำงานของเอนไซม์ที่ต่อต้านโรคชราได้มากที่สุด ได้แก่ สาร Resveratrol ซึ่งเป็นสารอยู่ในไวน์แดงและช่วยลดความเสี่ยงต่อการโรคหัวใจ แต่ที่สำคัญได้แก่การค้นพบว่าเอนไซม์ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลที่เรียก ว่า Sirtuins จะเป็นตัวควบคุมความชราในสิ่งมีชีวิตทั้งหลายโดยจะช่วยให้เซลคงดำรงชีพอยู่ ได้จากการถูกทำลายและช่วยชะลอการตายของเซล ดังนั้นคาดว่านักวิจัยต่างๆจะหันไปค้นหาสาร Sirtuins ชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นเซลที่มีประสิทธิภาพที่สุดหรือแม้กระทั่งสังเคราะห์ สารนี้ขึ้นเองเพื่อนำไปทดสอบความสามารถในการยืดอายุเซลแมลงหรือหนอนหรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู ลิง และมนุษย์ อย่างไรก็ตามนักวิจัย บางกลุ่มเตือนให้ระมัดระวังเนื่องจากความแก่ชราเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและ ยากที่จะเข้าใจ และไม่น่าที่จะเป็นไปได้ที่ยาเพียงชนิดเดียวจะมีผลช่วยชะลอความแก่ชราได้
การค้นพบดังกล่าวเป็นผลมาจากการวิจัยกว่า 3 ปี ทั้งนี้ตอนแรกนักวิทยาศาสตร์คิดว่าสาร Sirtuins จะทำหน้าที่ในการดึงโมเลกุลที่เป็นกุญแจสำคัญออกจากโปรตีนที่ล้อมรอบดีเอ็น เอ (DNA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลปิดและเปิดยีนส์ของตัวมัน แต่เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยเรียนรู้ว่าสารดังกล่าวมีส่วนในกระบวนการของระบบ Feed back ซึ่งเสริมให้เซลคงชีพอยู่ได้ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก การขาดอาหาร
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิจัยว่าระยะยาวของชีวิต (Life Span) นั้นสามารถยืดได้ถึง 50 เปอร์เซนต์หรือมากกว่านั้นในสัตว์หลายชนิด เช่น แมลงวัน หนอน และหนู หากเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวด้วยอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการที่ให้แคลอรี่ต่ำกว่า ปกติ 30 เปอร์เซนต์ แต่พบว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลหากเราดัดแปลงยีนส์ของสัตว์ดังกล่าวทำให้ไม่สามารถ ผลิตเอนไซม์ Sirtuins ได้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของสารนี้ในกระบวนการแก่ชรา
ในมนุษย์เองนักวิทยาศาสตร์พบว่าสารนี้จะไปหยุดวงจรของเซลตามปกติ (Cellular Cycle) ซึ่งเซลจะจบชีวิตลงโดยฆ่าตัวมันเอง แต่สารนี้จะไปช่วยเซลกลับเป็นหนุ่มขึ้นอีกครั้งโดยสนับสนุนกระบวนการซ่อม แซมดีเอ็นเอ และกระตุ้นให้มีการผลิตสารป้องกันพวกแอนตี้ออกซิแดนท์
เอกสารอ้างอิง
- เว็บข่าวสารของสหรัฐ ฯ The Washington Post. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.washingtonpost.com
ภาพประกอบ freepik.com (@photohobo)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)