You are currently viewing ความรู้เรื่องต่อมลูกหมาก

ความรู้เรื่องต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากคืออะไร?

ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องเชิงกรานด้านหน้าของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้นและยาวไปถึงบริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ รูปร่างคล้ายลูกหมาก (ที่กินกับพลู) หรือลูกเกาลัดโดยทั่วไปจะมีขนาด 4 x 3 x 2 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15-20 กรัม ต่อมลูกหมากพบได้ตั้งแต่แรกเกิดและจะเจริญเติบโตขึ้นรวมถึงทำงานได้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (อายุประมาณ 15-20 ปี) หลังจากนั้นจะเจริญเติบโตช้าลงจนกระทั่งอายุประมาณ 45-65 ปีก็จะเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้งซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกับผู้ชายสูงอายุ

สารบัญ

ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอสุจิที่สร้างมาจากลูกอัณฑะเมื่อมีการหลั่งอสุจิของเหลวเหล่านี้รวมถึงตัวอสุจิจะหลั่งออกมาโดยการบีบรัดของกล้ามเนื้อเรียบภายในต่อมลูกหมากเองผสมกับน้ำจากถุงอสุจิฉีดออกมาทางท่อปัสสาวะ

นอกจากนั้นต่อมลูกหมากยังสร้างสารอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า PSA (Prostate-Specific-Antigen) บางส่วนสามารถตรวจสอบพบได้ในกระแสเลือดจึงเป็นประโยชน์เวลาตรวจวินิจฉัยและใช้ติดตามโรคของต่อมลูกหมาก

การทำงานของต่อมลูกหมากควบคุมโดยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน (Testosterone) และ DHT (Dihydroteatoste-rone) ซึ่งสร้างจากลูกอัณฑะและตัวต่อมลูกหมากเอง

เมื่อมีระดับของฮอร์โมนเหล่านี้เปลี่ยนไปเช่นเมื่ออายุมากขึ้นอาจทำให้มีผลต่อขนาดของต่อมลูกหมากโลกของต่อมลูกหมากอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีคือโรคต่อมลูกหมากโตมักพบในผู้ชายที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไปเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็จะทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติเช่นปัสสาวะไหลช้าไม่แรงรวมถึงปัสสาวะบ่อย

ระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ไตมีสองข้างอยู่บริเวณเอวด้านหลังมีหน้าที่กลั่นปัสสาวะและของเสียออกจากเลือดออกไปทิ้ง ท่อไตมีข้างละหนึ่งท่อเชื่อมต่อไตกับกระเพาะปัสสาวะเพื่อนำปัสสาวะที่กลั่นออกมาไปพักไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นถุงประกอบด้วยกล้ามเนื้อสามารถยืดออกรับปัสสาวะจากท่อไตและสามารถกดรับเพื่อบีบให้ปัสสาวะไหลออกมาทางท่อปัสสาวะเพื่อนำไปทิ้งได้

ท่อปัสสาวะต่อจากด้านล่างของกระเพาะปัสสาวะออกมาอยู่ในองคชาตและเปิดออกสู่โลกภายนอกที่ปลายองคชาติท่อปัสสาวะส่วนต้นที่ต่อกับด้านล่างของกระเพาะปัสสาวะจะถูกหุ้มด้วยต่อมลูกหมากนอกจากนั้นถัดมาจะเป็นกล้ามเนื้อหูรูดซึ่งจะป้องกันไม่ให้ปัสสาวะซึมรั่วออกมา

การทำงานของกระเพาะปัสสาวะนั้นจะรับปัสสาวะมาจากไตผ่านท่อไตเมื่อมีปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากแรกกระเพาะปัสสาวะจะพองออกแต่เราจะไม่รู้สึกอะไรจนกระทั่งมีปัสสาวะมากพอเราจะเริ่มปวดปัสสาวะและเมื่อเราสะดวกที่จะเข้าห้องน้ำกระเพาะปัสสาวะก็จะหดรัดตัวบีบให้ปัสสาวะออกมาทางท่อปัสสาวะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะจึงแบ่งเป็นสองระยะคือระยะเก็บกักปัสสาวะและระยะถ่ายปัสสาวะ ถ้ามีความผิดปกติขึ้นมาในระยะใดระยะหนึ่งหรือทั้งสองระยะก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติ

เวลาต้องการเก็บกักน้ำปัสสาวะไว้ เช่นเวลาที่ยังไม่ปวดปัสสาวะ ถ้ากลไกของหูรูดชำรุดก็จะทำให้เก็บปัสสาวะไว้ไม่อยู่ทำให้เกิดปัสสาวะราด หรือปัสสาวะเล็ดเช่นเดียวกับก๊อกน้ำชำรุดที่น้ำจะหยดติ๊งติ๊งตลอด หรือถ้าปวดปัสสาวะแต่ยังไม่สะดวกไปถ่ายปัสสาวะก็ควรจะรอได้อีกพักใหญ่แต่ถ้ากระเพาะปัสสาวะบีบตัวแรงไปเร็วไปก็อาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดปัสสาวะเล็ดหรือราดได้เช่นกันเปรียบเหมือนปั๊มน้ำที่ทำงานผิดพลาดโดยปั๊มแรงกว่าปกติจนดันน้ำไหลผ่านก๊อกน้ำที่ปิดอยู่ออกมาได้

เวลาถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัวบีบให้ปัสสาวะไหลออกมาทางท่อปัสสาวะถ้ากระเพาะปัสสาวะเสื่อมไม่มีแรงบีบตัว ปัสสาวะก็จะไหลอ่อนไม่พุ่งหรือถึงกับถ่ายปัสสาวะไม่ออก

ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะผิดปกติแต่ท่อปัสสาวะมีอะไรไปอุดขวางอยู่เช่นมีต่อมลูกหมากโตก็จะทำให้ปัสสาวะไหลอ่อนไม่พุ่งถ่ายปัสสาวะไม่ออกได้เช่นกันถ้าเปรียบกับระบบประปาที่มีปั๊มน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันปั๊มน้ำก็เหมือนการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะหากปั๊มน้ำเสียก็เหมือนกับกระเพาะปัสสาวะเสื่อมทำให้น้ำไหลอ่อนได้

ส่วนท่อประปากับก๊อกน้ำก็เหมือนท่อปัสสาวะถ้าท่อประปาและก๊อกน้ำมีอะไรไปอุดอยู่เช่นเป็นสนิม น้ำก็ไหลอ่อนได้เช่นกันเหมือนกับท่อปัสสาวะมีอะไรไปอุดอยู่เช่นอาจมีต่อมลูกหมากโต นิ่ว หรือท่อปัสสาวะตีบซึ่งทำให้ไหลอ่อนได้เช่นกัน 

อาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติจึงมีสาเหตุมากกว่าต่อมลูกหมากโตด้วยอาการต่างๆอาจจะคล้ายกับอาการของโรคต่อมลูกหมากโตจนแยกไม่ออกอย่างไรก็ตามแพทย์และผู้ป่วยมักเรียกติดปากกันว่ามีอาการของต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโตที่พบบ่อยมีอยู่สามอย่างคือหนึ่งโรคต่อมลูกหมากโตสอง – ต่อมลูกหมากอักเสบ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้ชายพบบ่อยกว่าโรคมะเร็งต๋อมลูกหมากแต่ที่แปลกเรามักได้ยินคนพูดถึงโรคมะเร็งมากกว่าโรคต่อมลูกหมากโตทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เป็นโรคเรื้อรังบางทีไม่มีอาการบางทีมีอาการเล็กน้อยไม่เดือดร้อนและเนื่องจากโรคนี้ไม่ทำให้ใครตายง่ายๆ

หลายคนจึงอยู่กับอาการต่อมลูกหมากโตเป็นปีๆโดยไม่รับการรักษาหรือถ้าการมากขึ้นก็อาจจะรักษาด้วยยาได้ผลดีแต่บางครั้งโลกต่อมลูกหมากโตกว่าทำให้คุณต้องเข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากการถ่ายปัสสาวะไม่ออกขึ้นมาแบบปัจจุบันทันด่วน เพื่อไปสวนท่อปัสสาวะ

โรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้ชายพบบ่อยกว่ามะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตแล้วมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นน้อยมาก  อาการของโรคต่อมลูกหมากโต จะทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะขัด เป็นโรคเรื้อรังบางทีไม่มีอาการบางทีก็มีอาการเล็กน้อยไม่เดือดร้อน และ เนื่องจากโรคนี้ไม่ทำให้ใครตายง่ายๆหลายคนจึงอยู่กับอาการต่อมลูกหมากโตเป็นปีๆ โดยไม่ได้รับการรักษาหรือถ้าอาการมากขึ้นก็อาจจะรักษาด้วยยาก็ได้ผลดี แต่บางครั้งโรคต่อมลูกหมากโตก็อาจทำให้คุณต้องเข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากการถ่ายปัสสาวะไม่ออกขึ้นมาแบบปัจจุบันทันด่วน

โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

โรคต่อมลูกหมากอักเสบมีอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคของคนวัยหนุ่มโดยแบ่งเป็นช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไปมักจะเกิดเป็นอาการอักเสบเฉียบพลันและอาการอักเสบเรื้อรังอย่างแรกมีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะปัสสาวะไม่ออกส่วนอย่างหลังเป็นโรคที่ทำให้ทรมานมากเนื่องจากบางครั้งการวินิจฉัยทำได้ยากบางทีตรวจก็ไม่พบอะไรผิดปกติบางทีนึกว่าอักเสบเพราะติดเชื้อแต่ก็ตรวจไม่พบเชื้อสาเหตุของโรคต่อมลูกหมากอักเสบอาจเกิดได้จากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือการติดเชื้อ จากทางอื่นได้ด้วยเส้นทางลำไส้ใหญ่หรือทางกระแสเลือด

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้ชาย แต่ในปัจจุบันไม่พบมากในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบมากในแถบประเทศตะวันตก

โอกาสในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะได้รับการผ่าตัด หรือรักษาด้วยฮอร์โมน โดยจะมีการตรวจ PSA โดยการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

อาการ ตื่นขึ้นมาฉี่บ่อยเวลากลางคืนบางครั้งคืนนึง 3-4 ครั้ง 7-8 ครั้ง หรือมีอาการปวดฉี่แต่ฉี่ไม่ออกปวดเบ่งเบ่งแต่ไหลออกมาๆใช้เวลานานในการฉี่ ไม่เฉพาะตอนกลางคืนตอนกลางวันก็เป็นเหมือนกันบางทีฉี่เล็ดรอดออกมาเฉยๆเปียกกางเกงบางทีวิ่งเข้าห้องน้ำไม่ทัน บางทีมีอาการปวดแสบ เวลาฉี่ อั้นฉี่หรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการแบบนี้เรียกว่าอาการต่อมลูกหมากโต บางคนปวดฉี่แต่ฉี่ไม่ออกทรมานมากต้องรีบไปโรงพยาบาลแบบปัจจุบัน ทันด่วนพอไปถึงโรงพยาบาลคุณหมอก็ต้องสายยางสวนฉี่ เพื่อให้ฉี่ออกแบบนี้ก็เรียกว่าอาการต่อมลูกหมากโต ถ้าสวนแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องผ่าตัด โชคดีหน่อยถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนมีเงินหลักแสนก็ผ่าตัดได้ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐได้คิวเร็วก็ถือว่าโชคดีไปแต่เข้าใจว่ามีคนรอผ่าตัดนับเป็นล้านคน

ดังนั้นจะสังเกตได้ยังไงว่าเรามีแนวโน้มเป็นต่อมลูกหมากโตให้สังเกตอาการเป็นหัวข้อดังนี้

  • ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
  • ถ่ายปัสสาวะไม่สุดคือถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้วแต่รู้สึกว่ายังไม่หมดอยากถ่ายปัสสาวะอีก
  • ถ่ายปัสสาวะบ่อยไม่ถึง 2 ชั่วโมงก็ปวดปัสสาวะต้องไปถ่ายอีกแล้ว
  • เวลาปวดอยากถ่ายปัสสาวะจะรอไม่ได้ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
  • ปัสสาวะไหลไม่แรง
  • ปัสสาวะไหลๆหยุดๆ
  • ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ต้องเบ่งเวลาถ่ายปัสสาวะ รวมถึงต้องคอยระยะหนึ่งกว่าปัสสาวะจะไหลออกมา

ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็นต่อมลูกหมากโต

ถ้าตัดต่อต่อมลูกหมากของผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีไปตรวจทางพยาธิวิทยาจะพบว่าเกือบทั้งหมดมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างที่เรียกว่าต่อมลูกหมากโตยิ่งอายุมากยิ่งพบมากว่ากันว่าถ้าอยู่จนถึงอายุ 80 ถึง 90 ปีผู้ชายจะมีต่อมลูกหมากโตกันหมดแต่ไม่จำเป็นว่าต้องมีอาการทุกคนบางคนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติไม่เดือดร้อนอะไรและไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่าตัวเองมีโรคต่อมลูกหมากอยู่มีเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีอาการและรู้สึกเดือดร้อนจนต้องไปพบแพทย์

จากที่กล่าวให้คุณอาจจะมองภาพไม่ออกว่าปัญหานี้ใหญ่แค่ไหนและไม่ได้เป็นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นในต่างประเทศก็มีการศึกษากันมากและก็รู้มานานแล้วว่าโรคนี้พบบ่อยในผู้ชายสูงอายุแต่บ่อยแค่ไหนไม่ค่อยแน่ใจเพราะการศึกษาผู้ป่วยจากสถาบันต่างกันจึงทำให้มีวิธีที่แตกต่างกันมากเช่นบางแห่งนับเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติบางแห่งนับเฉพาะผู้ป่วยที่มีการตรวจทางคลินิกและอัลตราซาวด์พบว่ามีต่อมลูกหมากโตบางแห่งศึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่มาตรวจที่โรงพยาบาลซึ่งมักจะมีอาการผิดปกติแล้วบางแห่งศึกษาในระดับชุมชน

เมื่อ พ.ศ 2560 มีรายงานการวิจัยซึ่งรวบรวมผลการวิเคราะห์รายงานทางระบาดวิทยาในการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือมีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตรวม 31 รายงานซึ่งรวบรวมจาก 25 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าผู้ชายอายุ 40 ถึง 49 ปีจะมีโรคหรืออาการนี้ 14.30 8% อายุ 50-59 ปีความชุกจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% และพออายุ 60-69 ปีความชุกเป็น 29.1 เปอร์เซ็นต์และถ้าหยุด 70-79 ปีความสุขจะเป็น 3.8% อายุเกิน 80 ปีขึ้นไปความสุขจะเป็น 38.4 เปอร์เซ็นต์

แต่ถ้านับรวมทุกอายุผู้ชายที่มีอาการหรือโรคต่อมลูกหมากโตจะมีถึง 26.2 เปอร์เซ็นต์พูดง่ายๆแล้วเอาตัวเลขกลมๆโลกนี้เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 40 กว่าๆถึง 15 เปอร์เซ็นต์ยิ่งแก่ยิ่งพบผู้ชายมีโรคนี้กันมากขึ้นเพราะยุค 70 พบได้เกือบ 40% ถ้าไม่แยกอายุจะพบผู้ชายเป็นโรคนี้หรือมีอาการนี้ถึง 1 ใน 4 เหลือเกิน 25% ประชากรชายที่อายุ 60 ปีขึ้นไปในพศ. 2560 มีจำนวน 4.5 ล้านคนและ 1 ใน 4 ของ 4.5 ล้านคนคือกลุ่มที่มีอาการประมาณ 1.1 ล้านคนถ้ารวมคนที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปีด้วยอีก 4.4 ล้านคนเอาเฉพาะที่มีอาการด้วยอีก 1 ใน 4 คือ 1.1 ล้านเป็นกลุ่มที่มีอาการบวม กว่า 2 ล้านคนดังนั้นคลินิกโรคทางเดินปัสสาวะจึงมีผู้ชายที่มีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตมาตรวจกันจนแน่นท้องจากโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะเท่านั้นเรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์คือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่ากับหรือมากกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ซึ่งในปี 2560 มีประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุดังนั้นในอนาคตเป็นไปได้ว่าเราจะยิ่งมีผู้ป่วยมากกว่านี้

ต่อมลูกหมากโต และ มะเร็งต่อมลูกหมาก เหมือนกันไหม

ต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นอันเดียวกันไหม?

ถ้าปล่อยให้เป็นต่อมลูกหมากโตแล้วจะต้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือเปล่า?

คำตอบ: คือเป็นคนละโรคกัน เพียงแต่เกิดในอวัยวะเดียวกันในผู้ป่วยอายุใกล้เคียงกันแถมยังทำให้มีอาการคล้ายกันอีกด้วย ผู้ป่วยอาจจะมีทั้ง 2 โรคในเวลาเดียวกันหรือเป็นโรคต่อมลูกหมากโตธรรมดาก่อนและมีมะเร็งเกิดขึ้นที่หลังผู้ป่วยบางคนรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตธรรมดาไปแล้ว แต่มีมะเร็งเกิดขึ้นในเปลือกต่อมลูกหมากที่เหลืออยู่ ดังนั้นในการตรวจผู้ป่วยที่มีอาการต่อมลูกหมากโตหมอจึงมักตรวจหามะเร็งไปพร้อมกันด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเรื้อรังโดยปกติจะไม่ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายๆเพราะอาการจะเพิ่มขึ้นช้ามากบางคนอาการอาจส่งอยู่ตลอดชีวิตบางคนเป็นมากขึ้นแต่เพราะไม่เดือดร้อนมากนักจึงอยู่รอหลายปีจึงจะมาพบแพทย์เพื่อรักษา หรือหายาสมุนไพรกินก็มี

มีการศึกษาพบว่าถ้ามีต่อมลูกหมากโตแต่ไม่ทำอะไรเลยอาการจะเลวลงตามลำดับและเกิดภาวะแทรกซ้อนในที่สุดเรา 20% อาจจะต้องผ่าตัดในทุก 5 ปีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • ถ่ายปัสสาวะไม่ออก
  • ต่อมลูกหมากอักเสบหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ไตวาย
  • กระเพาะปัสสาวะเสื่อม
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • คุณภาพชีวิตแย่ลง

อาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ

อาการของโรคต่อมลูกหมากที่ทำให้เดือดร้อนมากที่สุดและทำให้ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วนคือไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เหมือนปกติหรือออกมาไม่กี่หยดแล้วก็หยุดไปมันจะรู้สึกตึงและปวดบริเวณท้องน้อยนับเป็นภาวะฉุกเฉินสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยมากทีเดียว

ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติมากขึ้นนำมาก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์แต่บางคนไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าอยู่ดีๆก็เกิดอาการถ่ายปัสสาวะไม่ออกขึ้นมาผู้ป่วยประเภทนี้มักจะกินยาบางอย่างเช่นยาแก้หวัด ยาแก้หอบหืดยาแก้ปวดท้องบางอย่างเข้าไปหรือการเดินทางไปต่างจังหวัดไกลๆแล้วหาห้องน้ำไม่ได้ทำให้ต้องกลั้นปัสสาวะไว้

บางครั้งอาการท้องผูกหรือมีริดสีดวงก็เป็นอีกสาเหตุของการถ่ายปัสสาวะไม่ออกได้เช่นกันหรือบางครั้ง อาจจะเกิดให้ออกหลังจากการผ่าตัดอื่นๆเช่นผ่าตัดไส้เลื่อนริดสีดวงทวารหรือโรคทางทวารหนักเช่นริดสีดวงทวารกำเริบฝีที่ทวารหนักกำเริบแต่ ขอย้ำว่าสาเหตุที่ถ่ายปัสสาวะไม่ออกไม่ใช่เพราะยาหรือภาวะเหล่านี้แต่เป็นเพราะต่อมลูกหมากโตอยู่ก่อนเป็นสาเหตุนำส่วนยาหรือภาวะเหล่านี้เป็นเพียงตัวกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออก

วิธีการแก้ไขการถ่ายปัสสาวะไม่ออกคือต้องรีบสวนระบายปัสสาวะซึ่งแพทย์ในห้องฉุกเฉินจะแก้ปัญหาได้เมื่อระบายปัสสาวะเรียบร้อย

แพทย์จะคาสายสวนปัสสาวะต่อไว้กับถุงปัสสาวะแล้วส่งผู้ป่วยกลับบ้านจากนั้นจึงนัดให้มาพบแพทย์ระบบปัสสาวะในวันถัดไปถ้าโชคร้ายถ้าสวนปัสสาวะไม่สำเร็จไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตามผู้ป่วยอาจจะต้องรับการเจาะท้องน้อยเพื่อระบายปัสสาวะออกฉุกเฉินแทน

“ถ้าสวนปัสสาวะแล้วจะเอาสายยางสวนออกได้ไหม ?”

คำตอบคือประมาณ 25% จะถ่ายปัสสาวะได้แบบไม่ปกตินักแต่ประมาณ 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์จะกลับไปถ่ายปัสสาวะไม่ออกอีกภายใน 1 สัปดาห์ส่วนผู้ที่ถ่ายปัสสาวะได้ดีเพราะว่าเรา 50% จะกลับมามีอาการปัสสาวะไม่ออกได้อีกภายใน 5 ปี

ผู้ป่วยที่ถอดสายสวนแล้วถ่ายปัสสาวะได้สำเร็จมักจะเป็นพวกที่มีเหตุนำมาก่อนเช่นท้องผูกกินยาบางอย่างเช่นยาแก้หวัดหรือริดสีดวงทวารกำเริบเมื่อแก้ไขสาเหตุนำแล้วและหยุดยาที่เป็นสาเหตุนำจนหมดฤทธิ์ยาจึงเอาสายสวนออกได้

ส่วนกลุ่มที่ถอดสายสวนแล้วไม่สามารถปัสสาวะได้มักเป็นพวกที่ไม่มีสาเหตุนำคือมีอาการต่อมลูกหมากโตที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นจนวันนึงก็ถ่ายปัสสาวะไม่ได้นอกจากนี้ผู้ป่วยที่พระสวนปัสสาวะให้ครั้งแรกก็พบในปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเกิน 1 ลิตรพวกที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคทางระบบประสาทและผู้ป่วยที่สูงอายุมากๆจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มักจะถอดสายสวนไม่สำเร็จ

ผู้ป่วยบางราย ที่มีปัสสาวะคั่งเรื้อรังและการทำงานของไตเสื่อมลง อาจจะต้องคาสายยางสวนไว้และต้องแก้ไขสภาพไตเสื่อมก่อนอาจจะต้องได้รับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพราะเมื่อสวนปัสสาวะแล้วจะพบว่าปัสสาวะที่ขับออกมามาก เกินไปจนอาจเป็นอันตรายได้

วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโต

การตรวจผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโดยรวมแล้ววิธีการตรวจ จะมีดังนี้

  • การซักถามอาการ รวมทั้งตรวจสอบว่าผู้ป่วยเดือดร้อนกับอาการแน่นมากน้อยแค่ไหน
  • ตรวจร่างกายรวมถึงการตรวจคำตอบลูกหมากทางทวารหนักว่าโตมากน้อยเพียงใด เป็นมะเร็งหรือไม่ นอกนั้นการตรวจร่างกายจะรวมถึงการตรวจหาโรคอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการแบบเดียวกัน
  • สถานพยาบาลหลายแห่งการทดสอบการถ่ายปัสสาวะด้วยเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยปัสสาวะลำบากมากน้อยแค่ไหน
  • ตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนและมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคอื่นๆเช่นเบาหวาน ความดัน
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และอาจจะตรวจพิเศษที่เรียกว่า “ตรวจยูโรพลศาสตร์” ซึ่งการตรวจแบบนี้จะทำเฉพาะบางราย

ฉันเป็นต่อมลูกหมากโตมากหรือยัง

ต่อมลูกหมากโตมากแค่ไหนหรือลดลงมากแค่ไหนต้องผ่าตัดหรือเปล่า?

คำตอบ คงต้องบอกว่ายาก แพทย์แต่ละท่านก็จะมีวิธีการแตกต่างกันไปที่จะวินิจฉัยมีความพยายามที่จะประเมินว่าเป็นมากหรือยังจากอาการจากการทดสอบการถ่ายปัสสาวะบางคนเอาผลการตรวจอัลตราซาวด์เป็นเครื่องช่วยนอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาประกอบคือผู้ป่วยมีความเดือดร้อนมากน้อยแค่ไหนในการใช้ชีวิตถ้ามีอาการเล็กน้อยก็ไม่เดือดร้อนมากแค่กินยาก็ช่วยได้แต่ถ้าเดือดร้อนมากก็ต้องได้รับการผ่าตัดเป็นขั้นตอนต่อไป

ทำไมต่อมลูกหมากถึงโต และจะป้องกันได้ไหม

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด นอกจากการคาดคะเนว่าอาจเป็นเรื่องของความสมดุลในระดับฮอร์โมนเพศชาย ที่ปรับเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อ เพราะว่าบางคนใช้งานหนัก หรือบางคนใช้งานน้อย เลยไม่ทราบสาเหตุว่าใช้งานหนักหรือใช้งานน้อยกันแน่

ที่สำคัญยังไม่พบวิธีป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ดังนั้นวิธีป้องกันก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้ดี งดกินของที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเช่นพวก แอลกอฮอล์ นม เนยกาแฟ อาหารแช่แข็ง หรือ อาหารประเภท Junk Food ควรกินอาหารที่ปรุงสด ลดการกินเนื้อ เน้นการกินผัก หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ หรือ นั่งรถนานๆ การปั่นจักรยานเป็นประจำ ซึ่งรวมถึง การขี่มอเตอร์ไซ การขี่ม้า การนั่งเสียดสีเป็นเวลานานๆ

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นต่อมลูกหมากโต

ข้อแนะนำคืออย่ากลั้นปัสสาวะ อย่าให้ท้องผูก พยายามหลีกเลี่ยงการกินยาบางอย่าง หรือกินด้วยความระมัดระวัง เช่นยาแก้หวัด คัดจมูก ลดน้ำมูก แก้ไอ แก้หอบ และอาจจะรวมถึงยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด ซึ่งแพทย์อาจจะให้เมื่อคุณมีโรคปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อปวดเมื่อยหลัง ยาแก้ปวดท้องบางตัว ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาพวกนี้ให้สังเกตว่าเมื่อกินยาเข้าไปแล้วอาการปัสสาวะของคุณแย่ลงกว่าเดิมหรือเปล่า ถ้าทำท่อปัสสาวะออกยากขึ้นหรือปัสสาวะบ่อยขึ้นผิดปกติอาจจะต้องหยุดยาเหล่านั้นหรือแจ้งให้แพทย์ทราบ

สำหรับอาหารการกิน แนะนำควรจะ กินอาหารที่ปรุงสด งดกินอาหารพวกที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ไม่ควรกินหวานหรืออาหารจำพวกแป้งเยอะ หรือหากมีโรคไขมันสูงก็ไม่ควรกินอาหารประเภทไขมัน แนะนำกินผักเยอะๆ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาต่อมลูกหมากโต

การรักษาโดยการติดตามเฝ้าดูอาการ

หากมีอาการเพิ่งเริ่มต้นหรือยังไม่มีความทรมานมากโดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ดูอาการไปก่อน และจะแนะนำให้กลับมาตรวจอีกภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี และแพทย์จะแนะนำให้ปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิตการกิน การดื่ม แนะนำ งดเครื่องดื่มที่อาจจะเป็นของแสลง ให้หลีกเลี่ยงตัวอย่างเช่นจำพวกแอลกอฮอล์ กาแฟ นม น้ำหวาน น้ำผลไม้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ การดื่มน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณหรือความต้องการของร่างกายไม่ควรดื่มน้ำเยอะจนเกินไป และปรับปรุงพฤติกรรมการอั้นปัสสาวะ การดูแลตัวเองไม่ให้ท้องผูก ระวังยาบางอย่าง เช่น ยาแก้หวัด ยาขยายหลอดลม ยาแก้ไอ เป็นต้น

เหตุผลที่แพทย์ ไม่เริ่มรักษา และเลือกวิธีดูอาการไปก่อนเพราะว่าโรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเรื้อรังรักษาให้หายขาดไม่ได้ไม่เหมือน เป็นหวัดโรคต่อมลูกหมากโตอาจจะมีอาการร่วมเป็น 10 ปีหรือมากกว่านั้น หากกินยาเคมีต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเปลืองค่ายาแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าผลข้างเคียงของยาอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้เช่น อาจจะมีผล ทำให้เกิดภาวะสมรรถภาพทางเพศเสื่อม หรือมีผลต่อระบบอื่นๆของร่างกายได้เป็นต้น

การรักษาด้วยยาเคมีหรือยาแผนปัจจุบัน

หลังจากเฝ้าดูอาการแล้วยังไม่ดีขึ้นส่วนใหญ่แพทย์ก็จะมีวิธีรักษาด้วยยา ซึ่งเป็น ที่นิยมใช้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปานกลาง และรู้สึกเริ่มเดือดร้อนกับอาการของตนเอง ต้องเข้าใจว่าโรคต่อมลูกหมากโตไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ยังเป็นโรคเรื้อรังการ ใช้ยาไม่ได้เป็นการรักษาให้หายขาด เพียงแต่จะช่วยบรรเทาความทุกข์จากการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยหลายคนกินยาแล้วอาจจะรู้สึกดีแต่ในขณะเดียวกันหากไม่ระมัดระวังเรื่องการกินการใช้ชีวิต ที่แสลงกับอาการของต่อมลูกหมาก ก็มีแนวโน้มว่าอาการก็จะไม่ดีขึ้นแต่ถ้าใครที่ปฏิบัติตัวดีตามคำแนะนำของแพทย์ส่วนใหญ่อาการก็จะดีขึ้นและ ชะลอ ความทุกข์ในการใช้ชีวิตได้

ยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ทำให้อาการปัสสาวะคล่องขึ้นแต่ผู้ป่วยก็ต้องสังเกตด้วยเพราะอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ต้องดูว่ายาชนิดนั้นเหมาะกับเราหรือเปล่าซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มยา สำหรับดูแลเรื่องต่อมลูกหมากโต อยู่หลายชนิดซึ่ง เราควรจะรับยา ตามคำแนะนำของแพทย์แล้วก็ เลือกปฏิบัติตัว และการกินให้ถูกต้อง ก็จะช่วยชะลอ การผ่าตัดหรือการต้องสวนท่อปัสสาวะออกไปได้

ตัวอย่างกลุ่มยา ที่นิยมใช้สำหรับรักษาต่อมลูกหมากโต

  • กลุ่ม แอลฟาบล๊อกเกอร์ (Alpha Blocker)
  • กลุ่มไฟว์-เออาร์ไอ(5-ARI)
  • ยาที่ใช้รักษาดีๆหรือภาวะนกเขาไม่สู้
  • ยากลุ่มที่รักษาโอเอบี

การรักษาด้วยสมุนไพร ทางเลือกที่เป็นที่นิยม

การรักษาโรคด้วยสมุนไพรนั้นมีนานนับพันปีก่อนที่จะมีการพัฒนายาแผนปัจจุบัน และยังเป็นที่นิยมเป็นอันมาก เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการกินสมุนไพร และ พบว่าแนวโน้มในปัจจุบันจะปฏิเสธยาเคมีมากขึ้นเพราะกินแล้วมีผลข้างเคียง ซึ่งข้อดีของการกินสมุนไพรคือไม่มีผลข้างเคียง และ มีผู้ป่วยหลายรายเลือกรักษาโรคต่อมลูกหมากโต โดยใช้องค์ความรู้ของแพทย์แผนไทย หรือแผนจีน เป็นทางเลือกเพราะไม่อยากเสี่ยงการผ่าตัด มีความเข้าใจผิดของผู้ป่วยที่นิยมนำสมุนไพรเดี่ยวบางชนิดมาต้มกินเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สมุนไพรต้องปรุงเป็นตำรับ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และ ต้องได้รับการอนุญาติจาก กระทรวงสาธารณสุขก่อนจึงนำมากินได้ ในปัจจุบัน มีสมุนไพร หลายหลายชนิดที่มีคุณสรรพคุณดูแลเรื่อง ระบบปัสสาวะ สมรรภาพทางเพศ ระบบขับถ่าย และบำรุงกำลัง ตัวอย่างเช่น กระชายดำ, เก๋ากี๋, ถั่งเช่า, ขมิ้น, ขิง, มะเขือเทศ, โสมเกาหลี, เจียวกู้หลาน, พลูคาว, มะระขี้นก, สมอไทย, สมอภิเพก, มะขามปัอม เป็นต้น

การรักษาด้วยการผ่าตัด

โดยมากแล้วแพทย์จะ ดูอาการและให้ยาก่อนที่จะทำการผ่าตัดเพื่อเป็นการ ดูแลเบื้องต้น

ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด

  • มีอาการแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมาก เช่นถ่ายปัสสาวะไม่ออก ถ่ายปัสสาวะออกไม่หมดและเหลือค้างอยู่อีก ติดเชื้ออักเสบบ่อยๆ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด ไตเสื่อมจากต่อมลูกหมากโต มีเลือดออกจากต่อมลูกหมากจำนวนมาก
  • กินยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือกินยาไม่ได้เพราะมีอาการข้างเคียงมาก หรือไม่อยากกินยา
  • อาการแย่ลงเป็นลำดับทั้งที่อยู่ในระหว่างการรักษาและกินยา
  • กลางคืนตื่นปัสสาวะบ่อยเดินทางไปไหนก็ไม่สะดวกมีปัญหาเรื่องปัสสาวะเช่นการเดินทาง การดูหนัง มีความกังวล เกี่ยวกับการใช้ห้องน้ำมีความกังวลเกี่ยวกับการปัสสาวะ
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนข้างต้นได้ง่ายและหากทิ้งไว้จะเป็นมากขึ้น

[ ] กลุ่มเสี่ยง ที่จะเป็น ต่อมลูกหมากโตมากขึ้น

  • มีอาการมากเมื่อตรวจพบครั้งแรก ปัสสาวะไหลช้ามาก
  • ขนาดของต่อมลูกหมากใหญ่มาก และอาจรวมถึงต่อมลูกหมากโตยื่นเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะมาก
  • ระดับ PSA สูง และพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่มะเร็ง (ระดับ PSA สูงตามขนาดต่อมลูกหมาก)
  • ผนังกระเพาะปัสสาวะหนามาก หรือมีกระพุ้งยื่นออกไป
  • ปัสสาวะตกค้างมากหลังถ่ายปัสสาวะ

วิธีต่างๆ ในการผ่าตัดต่อมลูกหมากในปัจจุบัน

  • การผ่าตัดเปิด
  • การคว้านต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์
  • การผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆ

การทำผ่าตัดเปิด

ใช้มีดผ่าผิวหนังเข้าไปหาต่อมลูกหมากแล้วควักต่อมออก ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่าเข้าไปทางหน้าท้องส่วนล่างเหนือกระดูกหัวหน่าวยาวราว 3-4 นิ้ว เพื่อเข้าไปหากระเพาะปัสสาวะเปิดกระเพาะปัสสาวะเข้าไปแล้วควักต่อมลูกหมากออกมา เสร็จแล้วจึงทำการห้ามเลือดเย็บปิดกระเพาะปัสสาวะ ปิดแผลจากนั้นคาสายสวนปัสสาวะไว้ 5-6 วัน ส่วนใหญ่ จะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง

การคว้านต่อมลูกหมาก

วิธีคว้านต่อมลูกหมากด้วยรถไฟฟ้าที่เรียกว่า TUR-P

วิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แพทย์จะเอาเครื่องมือสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะเพื่อส่งสายลวดไฟฟ้าเข้าไปขูดเนื้อต่อมลูกหมากที่ขวางอยู่ออกมาทางเครื่องมือ จากนั้นจะใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ 2-3 วัน ตรงบริเวณต่อมลูกหมากก็จะเป็นช่องกว้างขึ้น วิธีนี้เรียกว่าการทำ “ทียูอาร์พี” หรือ (TUR-P Transurethral resection of the prostate) ข้อดีของวิธีนี้คือผู้ป่วยไม่มีบาดแผลภายนอกและไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานานหลายวัน

เลือดออกหลังผ่าตัด
หลังจากการคว้านต่อมลูกหมากมักจะมีแผลที่ต่อมลูกหมาก และต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าแผลจะหาย ในระหว่างนั้นเลือดอาจจะออกได้อีกหากไปยกของหนัก เดินมาก หรือมีอาการท้องผูกเบ่งอุจจาระแรงไป การนอนพักผ่อนและดื่มน้ำมากขึ้น จะช่วยให้เลือดหยุดเองได้ ในกรณีเป็นมากอาจจะต้อง

กลับมาพบแพทย์และใส่สายสวนปัสสาวะและล้างกระเพาะปัสสาวะใหม่

ผ่าตัดต่อมลูกหมากโต

อาการนี้มักจะเกิดหลังถอดสายสวนปัสสาวะแล้วได้หลายสัปดาห์ อาการอาจจะเป็นมากหรือเป็นน้อย ถ้าถ่ายปัสสาวะทีไรแสบ แสบจนตัวสั่น แล้วรู้สึกว่าปัสสาวะไหลไม่แรงด้วย ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นอยู่ไม่กี่วันแล้วจะค่อยลดน้อยลง แต่ถ้ามีอาการเป็นหลายสัปดาห์ไม่หายสักที ก็ต้องกลับมาพบแพทย์

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ส่วนใหญ่จะเป็นชั่วคราวเพียง 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด มักเกิดหลังถอดสายสวนปัสสาวะออกใหม่ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปัสสาวะ จะไปห้องน้ำไม่ทันคือมันไหลออกมาก่อน หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์จึงจะดีขึ้น ส่วนน้อยที่จะมีอาการติดต่อเป็นเดือนหรือตลอดไป ในบางรายอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอหรือจาม หรือออกกำลังกายบางทีอาจจะมีปัสสาวะไหลหยดแบบควบคุมไม่ได้เพราะว่าหูรูดชำรุด

ท่อปัสสาวะและคอกระเพาะปัสสาวะตีบ

ภาวะนี้ อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ป่วยบางราย ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าปัสสาวะไม่แรงเหมือนก่อนผ่าตัด ในบางรายอาจมีอาการติดเชื้ออักเสบร่วมด้วยทั้งนี้เพราะเกิดพังผืดในท่อปัสสาวะหรือที่คอกระเพาะปัสสาวะ บางรายเกิดที่รูเปิดที่ปลายท่อปัสสาวะก็มี พังผืดจะหด รัดท่อปัสสาวะหรือคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ท่อตีบลง ปัสสาวะไม่แรง ถ้าเป็นมากอาจต้องใช้กล้องส่องเข้าไปตัดพังผืดให้ขาดซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยากและจะต้องกลับมาพักฟื้นในโรงพยาบาล 2-3 วัน

การผ่าตัดด้วยเลเซอร์

วิธีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์คือการใช้ลำแสงเลเซอร์ แบ่ง ได้ 2 วิธีคือ สลายด้วยเลเซอร์และวิธีคว้านด้วยเลเซอร์

การผ่าตัดด้วยเลเซอร์มีข้อดีอยู่มากจุดเด่นคือแทบจะไม่เสียเลือดเลยการนอนพักฟื้นอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่าการผ่าตัด

แต่มีข้อเสียคือค่าใช้จ่ายจะสูงมากกว่าการผ่าตัดแบบทั่วไป

วิธีการตรวจกระเพาะปัสสาวะเสื่อม

การตรวจสมรรถภาพกระเพาะปัสสาวะ ที่แพทย์ระบบปัสสาวะ เรียกว่าการตรวจ “ยูโรพลศาสตร์หรือการตรวจยูโรไดนามิกส์”

คือต้องสอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้วปล่อยน้ำเข้าไป จนผู้ป่วยปวดปัสสาวะ จากนั้นให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะออกมา (คือน้ำที่ปล่อยเข้าไปนั่นเอง)

ในระหว่างนั้นเครื่องตรวจจะวิเคราะห์การทำงานของกระเพาะปัสสาวะว่าเป็นอย่างไร มีการรับรู้ว่ามีปัสสาวะเป็นปกติหรือไม่ เก็บปัสสาวะไว้ได้หรือไม่ และมีแรงบีบตัว ให้ปัสสาวะไหลหรือไม่

มีคำถามว่าถ้ากระเพาะปัสสาวะเสื่อมจะผ่าตัดแก้ไขได้ไหมครับ?

คำตอบคือยากเพราะถ้ายิ่งเสื่อมเพราะระบบประสาทผิดปกติด้วยแล้วแทบจะไม่มีทางเลย

ปัสสาวะไม่ออก ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผลหรือบางรายไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ต้องทำอย่างไร?

คำตอบคือต้องใช้สายยางสวนเช่นคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดไปหรือต้องเจาะหน้าท้องใส่สายสวนไว้ในกระเพาะปัสสาวะหรือสวนเป็นระยะระยะ เพื่อเป็นการระบายปัสสาวะออกจากร่างกาย และ โดยส่วนใหญ่จะต้องคาสายสวน ไว้ยังผู้ป่วยตลอดไปเพราะไม่สามารถปัสสาวะเองได้

ผ่าตัดต่อมลูกหมากแล้วหายขาดไหม?

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดแล้วจะมีอาการดีขึ้น แต่ก็มี บางส่วนที่จะต้องกลับมามีอาการอีกซึ่งอาจจะเป็นภายใน 10 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย

สรุป

น้ำที่เราดื่มเข้าไปในร่างกาย มีส่วนช่วยและสำคัญมากมายต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการลำเลียงสารอาหาร การขับสารพิษ และการทำงานของอวัยวะต่างให้เป็นปกติ การดื่มน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สำหรับการดูแลสุขภาพของตัวเอง เราควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ

เอกสารอ้างอิง

ภาพประกอบ freepik.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น