You are currently viewing กกลังกา

กกลังกา

กกลังกา

ชื่อสามัญ กกรังกา, กกต้นกลม, กกขนาก, กกดอกแดง, Umbrella Plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus flabelliformis Rottb.

ชื่อวงศ์ CYPERACEAE

สารบัญ

ลักษณะของกกลังกา

  • ต้น เป็นพืชจำพวกหญ้า อายุหลายปี มีลำต้น ได้ดิน ใบและช่อดอกอยู่เหนือดิน สูงประมาณ ๑๕-๒๐ ซม. กาบหุ้มลำต้นสีน้ำตาลอมแดง
  • ใบ ใบเดี่ยวเรียวยาวประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. มีร่องกลางใบปลายแหลม โคนแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ฐานใบสีแดง ตอกเล็กๆอัดกันแน่นเป็น ทรงหัวแหวนที่ปลายก้านทรงสามเหลี่ยมซูเหนือลำต้น มีใบรองคอก ๓ ใบยาวไม่เท่ากัน
  • ลำต้น ส่วนของลำต้นที่ชูช่อดอกจะมีรูปร่าง เป็นสามเหลี่ยม ที่ฐานของช่อดอกมีแผ่นรองดอก    มีสีเขียวคล้ายใบ (bracts) ดอกย่อย ๒ ดอก คือดอกด้านล่างจะมีกาบ (glume) สีเขียวใส
  • ผล ผลลักษณะแบน กลมรี
  • การขยายพันธุ์ เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าและไหลที่งอกจากลำต้นใต้ดิน
ลักษณะและสรรพคุณของ กกลังกา

สรรพคุณกกลังกา

  • ต้น รสจืดเย็น ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี
  • ใบ รสเย็นเบื่อ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล ต้มเอาน้ำดื่ม ฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน
  • ดอก รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก
  • เหง้า รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือ บดเป็นผง ละลายน้ำร้อนรับประทาน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะเฟือง ขับน้ำลาย
  • ราก รสขมเอียน ต้มดื่ม หรือตำกับเหล้าคั้นเอาน้ำรับประทาน แก้ช้าใน ขับโลหิตเน่าเสีย แก้ตกเลือด จากอวัยวะภายใน
เอกสารอ้างอิง
  1. สารานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่1. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “กกลังกา” หน้าที่ 62

ภาพประกอบ wikipedia

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น