You are currently viewing ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ชื่อสามัญ ปีกนกไส้ (เหนือ), กี่นกไส้, หญ้าก้นจ้ำขาว (สระบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens pilosa Linn.

ชื่อวงศ์ COMPOSITAE

ดอกก้นจ้ำขาว

สารบัญ

ลำต้นก้นจ้ำขาว

ลักษณะของก้นจ้ำขาว

  • ต้น ป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ ๕๐ ซม. ไม่มีขน
  • ใบ ใบประกอบเป็นช่อยอดเดียว มีใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลมโคนสอบ
    ใบยอดใหญ่กว่าใบอื่น ๆ ยาว ๖-๑๒ ซม. ขอบจักฟันเลื่อย เนื้อใบบางผิวเรียบ
  • ดอก ดอกสีขาวครีม เป็นกระจุก ๗-๘ ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบ
  • ก้าน ก้านช่อยาว ๓-๑๐ ซม.
  • ผล ผลยาว ๗-๘ มม. สีดำ
  • แหล่งที่พบ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามริมทาง สวนไร่นา
  • การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ก้นจ้ำขาวโดยรวม

สรรพคุณก้นจ้ำขาว

  • ใบ รสจืดเย็น ดับพิษ ห้ามเลือด สมานบาดแผล รักษาแผลเน่าเปื่อย บวม ตำพอกตา แก้ตาอักเสบ คั้นเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู ใบอ่อนเคี้ยวแก้ปวดฟัน
  • ทั้งต้น รสจืดเย็น ต้มดื่มแก้ไอ แก้ไขข้ออักเสบ แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
ก้นจ้ำขาวสวยๆ
เอกสารอ้างอิง
  1. สารานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่1. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “ก้นจ้ำขาว” หน้าที่ 63

ภาพประกอบ ภาพ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ / samunpri.com / monaconatureencyclopedia.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น