You are currently viewing ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ชื่อสามัญ ก้นจ้ำ (นครราชสีมา) (Spanish Needles)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens biterata (Lour.) Merr. & Sherff ex Sherff.

ชื่อวงศ์ COMPOSITAE

สารบัญ

ต้นก้นจ้ำ

ลักษณะของก้นจ้ำ

  • ต้น เป็นพืชล้มลุก สูง ๑-๒ ม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนประปราย
  • ใบ ประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบหยักฟันปลา ผิวมีขนบาง ๆ ทั้งสองข้าง
  • ดอก เป็นกระจุก สีเหลือง กลีบเป็นฝอย ก้านดอกแข็ง ยาวประมาณ ๕-๑๐ ซม.
  • ผล ผลยาว ปลายมีรยางค์ ๒-๕ อัน ผิวมีขนสั้น ๆ
  • แหล่งที่พบ ขึ้นอยู่ตามริมทางสวนไร่นาทั่วไป
  • การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ต้นก้นจ้ำ2

สรรพคุณก้นจ้ำ

  • ใบ รสจืดเย็น ใบสด ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตามัว ตำพอกแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
เอกสารอ้างอิง
  1. สารานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่1. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “ก้นจ้ำ” หน้าที่ 63

ภาพประกอบ wikipedia / misterveggy.com / khaosod.co.th

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น