You are currently viewing ร่างกายต้องการพลังงานเท่าไร

ร่างกายต้องการพลังงานเท่าไร

พลังงานที่ร่างกายต้องการ

ร่างกายต้องการพลังงานเท่าไหร่

ร่างกายของคนเราต้อง การพลังงานในการทำงานอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ชีวิตเริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งตายความต้องการพลังงานแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ ขนาดรูปร่าง เพศ ระดับกิจกรรมการใช้พลังงาน ระบบการเผาผลาญ และสภาวะของร่างกาย

ร่างกายคนเราเปรียบได้กับเครื่องยนต์ หัวใจเปรียบเสมือนตัวปั้มเชื้อเพลิงเส้นเลือดแดงเปรียบเสมือนท่อเชื้อเพลิง ปอดเหมือนคาร์บูเรเตอร์ที่ช่วยให้ออกซิเจนผสมกับเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดการเผาผลาญในเซลล์

ไม่ว่าจะเป็นรถหรือร่างกายก็ต้องการเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งพลังงานแม้ขณะที่ร่างกายไม่ทำงาน ร่างกายก็ต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานในการทำงานในชีวิตประจำวัน พลังงานขั้นพื้นฐานคือพลังงานที่ต้องใช้ขณะที่ร่างกายอยู่เฉยๆ ไม่มีกิจกรรม เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การผลิตความร้อนในร่างกาย ผลิตเหงื่อเพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง การส่งสัญญาณไปสมอง และการผลิตสารเคมีในร่างกายเพื่อทำงานตามปกติ พลังงานขั้นพื้นฐานนี้เป็นปริมาณเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการทั้งหมดของร่างกาย และเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกาย กล้ามเนื้อเป็นที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าส่วนของไขมัน 3-5 เท่า ในขณะที่เมื่ออายุมากขึ้นส่วนกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลง และส่วนไขมันจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น

เมื่อร่างกายมีการทำงานที่ต้องใช้แรงเพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย ร่างกายจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ยิ่งเคลื่อนไหวมากเท่าไร ร่างกายจะมีการเผาผลาญพลังงานและใช้พลังงานอย่างรวดเร็ว ร่างกายใช้พลังงานในส่วนนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับระดับการใช้แรงงานในแต่ละคน ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายใช้ในการย่อยและดูดซึมอาหาร

อายุและเพศ

อายุและเพศ

ในวัยเด็กร่างกายต้องการพลังงานสูงสุดเพื่อใช้สร้างกล้ามเนื้อกระดูกและเนื้อเยื่อในการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายที่อายุไม่เกิน 10 ขวบ ความต้องการพลังงานไม่แตกต่างกันจนกระทั่งเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาว เด็กผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากขึ้น ต้องการพลังงานมากขึ้น การเจริญเติบโตในช่วงนี้ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้นไปอีก

เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ ความต้องการพลังงานจะเริ่มลดลงทุกๆ 10 ปี หลังอายุ 35 ปี ร่างกายต้องการพลังงานน้อยลง 2 เปอร์เซ็นต์ เช่น หญิงสาวอายุ 25 ปีต้องการพลังงานวันละ 2,200 แคลอรี และเมื่ออายุ 45 ปี พลังงานที่ต้องการจะลดลงอีก 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าหญิงผู้นี้ทำตัวให้กระฉับกระเฉงว่องไวอยู่เสมอโดยการออกกำลังกายหรือพยายามใช้แรงงานมากขึ้นตามอายุ ก็จะทำให้ความต้องการพลังงานสูงกว่าที่ควรจะเป็น

ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันน้อยกว่าผู้หญิงในวัยเดียวกัน ทำให้ผู้ชายต้องการพลังงานมากกว่าผู้หญิงเพราะเซลล์กล้ามเนื้อเป็นเซลล์ที่ใช้พลังงาน ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงจะสะสมไขมันมากกว่าผู้ชายเพื่อสำรองไว้ในการตั้งครรภ์และนมบุตร

ในวัยสูงอายุความต้องการพลังงานจะลดลง ในช่วงอายุระหว่าง 60 -70 ปีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 10 ปีที่อายุมากขึ้นและในช่วงอายุ 80 – 90 ปีจะลดลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะระบบการเผาผลาญของร่างกายลดลง เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อลดปริมาณลงประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 10 ปีโดยเฉพาะในคนที่มีชีวิตนั่งๆ นอนๆ แม้วัยนี้จะต้องการพลังงานน้อยลงกว่าเมื่อตอนอายุวัยกลางคน แต่ความต้องการสารอาหารกลับสูงขึ้นหมายความว่าอาหารที่ผู้สูงอายุบริโภคควรจะมีพลังงาน แคลอรี และไขมันลดลง แต่อาหารกลับหนาแน่นไปด้วยสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มีใยอาหารและน้ำเพียงพอ

ลักษณะและขนาดของรูปร่าง

ลักษณะและขนาดของรูปร่าง

ลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบของร่างกายที่ต่างกันทำให้พลังงานขั้นพื้นฐานต่างกัน คนที่มีกล้ามเนื้อมากจะมีพลังงานขั้นพื้นฐานสูงกว่าคนที่มีกล้ามเนื้อน้อยและมีไขมันมาก และคนที่มีรูปร่างท้วม ร่างกายจะสะสมไขมันได้ง่ายกว่าคนที่มีรูปร่างผอม นอกจากนี้คนที่มีรูปร่างใหญ่ ร่างกายจะใช้พลังงานและเผาผลาญพลังงานมากกว่าคนที่มีรูปปร่างเล็กกว่า

อาหารหนึ่งส่วนเท่ากับเท่าไร

หมวดอาหารปริมาณหนึ่งส่วน
ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังข้าว/ก๋วยเตี๋ยว/มะกะโรนี/เมล็ดธัญพืช*สุก=1 ทัพพี ขนมปัง 1 แผ่น
ผักผักสลัด 2 ทัพพี/ผักสุก 1 ทัพพี*หรือน้ำผักคั้น ¾ ถ้วยตวง (1800 มิลลิกรัม)
ผลไม้ผลไม้ขนาดกลาง (ส้ม กล้วยน้ำว้า แอ๊ปเปิล)* 1 ผล มะม่วงดิบ/มะม่วงสุก/ฝรั่ง*½ ผล เงาะ 4 ผล ผลไม้หั่นหรือผลไม้กระป๋อง 6 ชิ้นคำ น้ำผลไม้ 180 มิลลิกรัม
นมและผลิตภัณฑ์นมหรืออาหารทดแทนแคลเซียม(แหล่งแคลเซียม)นม 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) โยเกิร์ต 1 ถ้วยตวง (200 มิลลิลิตร) ปลาตัวเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ/ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 2 ตัว* เต้าหู้เหลือง ¼ ก้อน ซีส 45-60 กรัม (ขึ้นอยู่กับชนิดของซีส)ๆ
หมวดเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ไข่ และถั่วต่าง ๆเนื้อสัตว์สุกไม่ติดหนังและไม่ติดมัน 15 กรัม ถั่วเมล็ดแห้งสุก 1 ช้อนโต๊ะ ไข่ ½ ฟอง เต้าหู้ขาวหลอด 6 ช้อนโต๊ะ
ไขมันน้ำมันพืช/มาการ์รีน/เนย/มายองเนส 1 ช้อนชา* กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำสลัดข้น/ถั่วลิสง/ครีมเทียม 2 ช้อนชา*

ที่มา: กองโภชนาการ

ความต้องการพลังงานของคนไทย

ในการกำหนดพลังงานของคนไทย กองโภชนาการ กรมอานามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำธงโภชนาการเพื่อเป็นภาพจำลองการแนะนำการบริโภคอาหารของคนไทย ธงโภชนาการบอกชนิดและปริมาณของอาหารที่คนไทยควรกินในแต่ละวัน สำหรับเด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามการใช้พลังงานเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ตารางแนะนำปริมาณอาหารที่แต่ละคนควรกินในแต่ละวัน

ระดับพลังงานต่อวัน ปริมาณอาหารในแต่ละหมวดต่อวัน
หมวดข้าว
(ทัพพี)
หมวดผัก
(ส่วน)
1,600 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 6 -13 ปี ผู้หญิงวัยทำงานอายุ 25 – 60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 8 4
2,000 กิโลแคลอรี สำหรับวัยรุ่นหญิง-ชาย อายุ 14 – 25 ปี วัยทำงานอายุ 25 -60 ปี 10 5
2,400 กิโลแคลอรี หญิง- ชายที่ใช้พลังงานมาก เช่น ผู้ใช้แรงงานหนัก เกษตรกร นักกีฬา 12 6

ปริมาณอาหารในแต่ละหมวดต่อวัน

หมวดผลไม้ (ส่วน)หมวดนม (แก้ว)หมวดเนื้อสัตว์ (ช้อนชา)น้ำมัน/น้ำตาล (ส่วน)
326ใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็นหรือน้ำมัน
419ใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็นหรือน้ำมัน 7 ช้อนชา
5112ใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็นหรือน้ำมัน 9 ช้อนชา

ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็ตาม ร่างกายต้องการสารอาหารชนิดเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในปริมาณซึ่งเปลี่ยนไปตามกิจกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละเพศและวัย สารอาหารทางกายต้องการมีมากกว่า 40 ชนิด มาจากอาหารหลัก 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งน้ำ

สรุป

เพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานเพียงพอ การเลือกรับประทานอาหารจากอาหารห้าหมู่อย่างหลากหลายและสมดุลโดยใช้เกณฑ์การกำหนดพลังงานของคนไทยตามตารางเป็นแนวทางการบริโภค ก็จะช่วยให้ได้รับสารอาหารและพลังงานตามที่ร่างกายต้องการ

เอกสารอ้างอิง

ภาพประกอบ freepik.com (by. @freepik / @inspiring)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์อะไลฟ์เฮ้ลท์กรุ๊ป (AliveHealthGroup)

แชร์บทความ
Facebook
Twitter
แสดงความคิดเห็น